Javascript DHTML Drop Down Menu Powered by dhtml-menu-builder.com

   
Thailand Lawyers


 
Choose Language:  thailand lawyer English  ภาษาไทย  Japanese  
ค้นหา  
Javascript DHTML Drop Down Menu Powered by dhtml-menu-builder.com

 
อสังหาริมทรัพย์
 

 
  ชนินาฎ แอนด์ ลีดส์
เลขที่ 10/154 อาคารเทรนดี้ ออฟฟิศ ชั้น18 ถนนสุขุมวิท ซอย 13
แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
Tel : (662) 168 7001 (-3)
** If dialing within Thailand,
Please dial: (02) 168 7001 (-3) **

Fax: (662) 168 7004

E-mail: info@lawfirm.in.th

 

ถาม-ตอบ : คดีมรดก พินัยกรรม

แม่ของดิฉันเสียชีวิต โดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ดิฉันเป็นลูกคนโต มีน้องสาวหนึ่งคน มีคุณยายซึ่งเป็นอัลไซเมอร์ ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ แต่คุณยายมีผู้อนุบาลดูแลอยู่ และแม่ยังมีน้องชายอีกหนึ่งคนด้วย ดังนั้นแล้วใครจะเป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกของแม่ดิฉันบ้างคะ รบกวนช่วยตอบด้วย ?

กรณีนี้เจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ดังนั้นจึงต้องแบ่งมรดกให้กับทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ซึ่งทายาทโดยธรรมมีหกลำดับ คือ ผู้สืบสันดาน, บิดามารดา, พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน, พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน, ปู่ ย่า ตา ยาย, ลุง ป้า น้า อา จากข้อเท็จจริงที่ให้มา ทายาทของเจ้ามรดกนี้เป็นทายาทโดยธรรมทุกคน แต่ผู้มีสิทธิได้รับมรดกนี้มีเพียงสามคนเท่านั้นคือ ตัวคุณเจ้าของคำถาม, น้องสาวของคุณ และ คุณยายของคุณ เพราะคุณและน้องสาวเป็นทายาทชั้นบุตร ซึ่งอยู่ในลำดับที่หนึ่ง และคุณยายซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่สอง โดยจะได้รับส่วนแบ่งเหมือนทายาทชั้นบุตร แม้ว่าคุณยายจะเป็นผู้ไร้ความสามารถก็ตาม แต่คุณยายก็มีผู้อนุบาลดูแลที่จะจัดการเกี่ยวกับทรัพย์มรดกได้ ทายาทชั้นบุตรกับทายาทชั้นบิดามารดาจะไม่ตัดสิทธิกันเอง แต่สำหรับทายาทลำดับถัดลงไปจะถูกตัดสิทธิในการรับมรดกหากมีทายาทในลำดับใดลำดับหนึ่งก่อนแล้ว ดังนั้นน้องชายของแม่ของคุณจึงไม่มีสิทธิรับมรดก มีเพียง 3 คนเท่านั้นที่ได้รับมรดกคือ ตัวคุณ น้องสาว และคุณยาย โดยได้รับมรดกคนละเท่ากันค่ะ

ดิฉันมีสามีเป็นชาวต่างชาติจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย ถ้าดิฉันเสียชีวิต สามีของดิฉันจะได้รับมรดกหรือเปล่าคะ ดิฉันมีที่ดิน 2 ไร่อยู่ต่างจังหวัดค่ะ?

ต้องดูว่าคุณมีทายาทคนอื่นที่มีสิทธิได้รับมรดกอีกหรือไม่ เช่น บุตร, บิดามารดา หรือทายาทโดยธรรมลำดับอื่นๆ หากคุณไม่มีทายาททั้งหกลำดับเลย สามีโดยชอบด้วยกฎหมายที่เป็นชาวต่างชาติของคุณก็มีสิทธิได้รับมรดกในฐานะคู่สมรส ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของคุณไปทั้งหมด มรดกซึ่งเป็นที่ดินของคุณนั้น โดยปกติแล้วต่างด้าวไม่สามารถถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ ยกเว้นเป็นทายาทโดยธรรม หรือต่างด้าวที่นำเงินมาลงทุนไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท ดังนั้นในกรณีนี้ สามีของคุณจึงสามารถรับมรดกที่ดินของคุณได้ ในฐานะทายาทโดยธรรม แต่สามารถถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้เพียงครอบครัวละไม่เกิน 1 ไร่ เท่านั้นสำหรับที่อยู่อาศัย ส่วนที่เกินนั้นต้องจำหน่ายแล้วนำเงินให้ต่างด้าวผู้รับมรดกนั้น แต่ทั้งนี้ต้องขออนุญาตจากรัฐมนตรีสำหรับการได้มาซึ่งที่ดินของคนต่างด้าวที่เป็นผู้ขอรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมค่ะ

เพื่อนของดิฉันเป็นชาวต่างชาติ มีพ่อเป็นคนไทย ตอนนี้พ่อของเพื่อนเสียชีวิตแล้ว และได้ทำพินัยกรรมยกที่ดิน 1 ไร่ให้กับเพื่อนที่เป็นชาวต่างชาติ เท่าที่ทราบมาคือ ชาวต่างชาติจะถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินไม่ได้ใช่หรือเปล่าคะ แล้วอย่างนี้เพื่อนของดิฉันจะต้องทำอย่างไรกับที่ดินนี้คะ ?

กรณีเช่นนี้ ถ้าพ่อเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าบุตรที่เป็นชาวต่างชาตินั้น เป็นทั้งทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรม ต้องให้บุตรที่เป็นชาวต่างชาติรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมต่อไป เพราะต่างด้าวที่ขอรับมรดกตามพินัยกรรม ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะขออนุญาตให้รับมรดกตามมาตรา 93 ประมวลกฎหมายที่ดิน เนื่องจากผู้ขอไม่ใช่ทายาทโดยธรรม ที่จะมีสิทธิถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ เมื่อชาวต่างชาตินั้นเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกด้วย เขาจึงมีสิทธิขออนุญาตรัฐมนตรีเพื่อขอรับมรดกซึ่งเป็นที่ดิน และสามารถถือกรรมสิทธิ์ได้ครอบครัวละไม่เกิน 1 ไร่ สำหรับที่อยู่อาศัย แต่ทั้งนี้ต้องดูว่าครอบครัวของต่างด้าวที่ขอรับมรดกนั้นมีที่ดินอยู่แล้วหรือไม่ ซึ่งถ้ามีอยู่แล้วเกิน 1 ไร่ ที่ดินที่ได้รับมรดกนั้นก็ต้องจำหน่ายแล้วนำเงินมาให้คนต่างด้าวนั้น

เอกสารที่เกี่ยวข้อง: ร่างพินัยกรรม, คดีมรดก

 

   
 
(สงวนสิทธิ์: ข้อมูลที่นำเสนอในหน้านี้มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้น ไม่สามารถใช้อ้างอิงหรือชี้แนะ
ก่อนที่จะปฏิบัติการทางกฎหมายใดๆ ควรได้รับคำแนะนำจากนักกฎหมายที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เกี่ยวข้อง)
     
  กฎหมายเกี่ยวกับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ | ซื้อที่ดิน | ซื้ออาคารชุด | กฎหมายเกี่ยวกับการซื้อคอนโด | จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท/ห้างหุ้นส่วน
วีซ่าสหรัฐ และวีซ่าแต่งงาน | จดทะเบียนเลิกบริษัท และชำระบัญชี | พิสูจน์ข้อเท็จจริง | วีซ่าแต่งงาน / วีซ่าคู่หมั้น | คดีมรดก พินัยกรรม
การหย่า | คดีการได้รับบาดเจ็บส่วนบุคคล | คดีอาญา | เครื่องหมายการค้า | ติดต่อเรา | พบเรา | ทนายความ |
ร่วมงานกับเรา
 

Thailand Law Partners:
Thailand Law Forum | US Fiance Visa Lawyer Thailand | Thailand Law Firm and Attorney

Copyright © 2001-2017 Chaninat & Leeds Law Office สำนักกฎหมาย ชนินาฏ แอนด์ ลีดส์ All rights reserved.