คดีครอบครัว
 
 

FAMILY LAW SECTION

Tel : (662) 168 7001 (-3)

Within Thailand, (02) 168 7001 (-3)

Fax: (662) 168 7004

Email: info@lawfirm.in.th

More About Chaninat and Leeds

  ประเภทกฎหมาย
  แนวคำพิพากษา
  ข่าวกฎหมายใหม่
  วีดีโอ
  เกี่ยวกับเรา
  ร่วมงานกับเรา
  ติดต่อเรา
 

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

Home  /  Contact print symbol Print Page



ทนายความที่ปรึกษาพินัยกรรม

สำนักงานกฎหมาย ชนินาฏ แอนด์ ลีดส์ ให้บริการและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายเกี่ยวกับพินัยกรรมและดำเนินคดีมรดก โดยคดีมรดกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) คดีมรดกที่มีพินัยกรรมถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด    2) คดีมรดกที่ไม่มีพินัยกรรม   ซึ่งกรณีที่ไม่มีพินัยกรรมหรือในกรณีที่พินัยกรรมทำไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ทรัพย์มรดกจะตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย หากคุณเป็นญาติของผู้ตายและคิดว่าตัวคุณมีสิทธิรับมรดก ซึ่งในบางครั้งอาจจะมีความขัดแย้งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกระหว่างญาติด้วยกันเอง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องปรึกษาทนายความที่มีความเชี่ยวชาญช่วยดำเนินคดีมรดก เพื่อรักษาสิทธิอันชอบธรรมของคุณ

พินัยกรรมคืออะไร?

พินัยกรรม คือ หนังสือที่เจ้าของมรดกได้ทำขึ้นไว้ เพื่อแสดงเจตนาว่าเมื่อตนตายไปแล้วต้องการให้ทรัพย์สิน ต่างๆ ตกเป็นของใคร หรือตั้งให้ใครเป็นผู้จัดการมรดก โดยพินัยกรรมจะมีผลก็ต่อเมื่อเจ้าของมรดกได้ตายไปแล้ว ทั้งนี้กฎหมายได้กำหนดให้พินัยกรรมต้องทำตามแบบ หากไม่ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดพินัยกรรมนั้นจะตกเป็นโมฆะ

กฎหมายกำหนดแบบของพินัยกรรมไว้กี่แบบ?

กำหนดไว้ 5 แบบดังนี้
1. พินัยกรรมแบบธรรมดา 
2. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ       
3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง  
4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
5. พินัยกรรมแบบที่ทำด้วยวาจา

การตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมทำอย่างไร?

ผู้ทำพินัยกรรมสามารถตั้งบุคคลใดก็ได้ ให้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดก โดยจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือโดยบุคคลซึ่งระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้ตั้ง

การยื่นคำร้องคัดค้าน

ผู้มีส่วนได้เสียอาจยื่นคำร้องคัดค้านในคดีมรดกได้  โดยทั่วไปเหตุคัดค้านมีได้หลายประการ แต่เหตุคัดค้านส่วนใหญ่ที่ปรากฏในคดีมรดก ได้แก่ 

- พินัยกรรมปลอม
- ผู้ทำพินัยกรรมมีความสามารถบกพร่องในขณะที่ทำพินัยกรรม เช่น เป็นคนวิกลจริต หรืออายุยังไม่ครบ 15 ปี
- ทรัพย์มรดกสูญหาย
- ผู้จัดการมรดกไม่ทำตามหน้าที่

กรณีที่ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ หรือทำไว้แต่พินัยกรรมเป็นโมฆะ จะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1620 และมาตรา 1629 ถึงมาตรา 1634 โดยจะเป็นกรณีที่รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม ซึ่งอธิบายได้ดังนี้

ทายาทโดยธรรม ได้แก่ใครบ้าง?
กฎหมายกำหนดลำดับชั้นของทายาทโดยธรรมไว้ 6 ลำดับ โดยแต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้
(1) ผู้สืบสันดาน ได้แก่ ลูก หลาน เหลน รวมถึงบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองโดยพฤตินัยและบุตรบุญธรรม
(2)  บิดา มารดา
(3)  พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน
(4)  พี่น้องร่วมบิดา หรือมารดาเดียวกัน
(5)  ปู่ ย่า ตา ยาย
(6)  ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1635
กรณีที่เจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมหรือพินัยกรรมตกเป็นโมฆะ แต่ไม่มีทายาทโดยธรรมที่จะรับมรดกแล้ว ทรัพย์มรดกย่อมตกทอดเป็นของแผ่นดิน

อายุความ

อายุความคดีมรดกกำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754  ซึ่งกำหนดอายุความไว้ว่า
- คดีมรดกต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่เจ้ามรดกตายหรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
- คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม ต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรรู้ถึงสิทธิ ซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม

อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงในแต่ละคดีอาจมีผลเกี่ยวกับอายุความที่กำหนดไว้ใน มาตรา 1754 ก็ได้
ดังนั้นควรจะขอคำแนะนำจากทนายความซึ่งมีความเชี่ยวชาญในคดีมรดก เพื่อดำเนินการให้คุณได้สิทธิในฐานะผู้รับมรดก ตามกรณีต่างๆ ที่ได้กล่าวมา

เอกสารที่เกี่ยวข้อง:

  • ร่างพินัยกรรม

  • คดีมรดก
  •