ความก้าวหน้าในการช่วยเหลือให้มีการตั้งครรภ์แทน (Surrogacy) เพื่อบำบัดรักษาภาวการณ์มีบุตรยาก หรือการอุ้มบุญ ได้รับการคุ้มครองและควบคุมตามเงื่อนไขของพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558
นอกจากนี้ ในบางกรณีผู้รับบุตรบุญธรรมและเด็กอาจไม่เคยพบเจอกันมาก่อน เช่น การแสดงความจำนงขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมจากสถานสงเคราะห์ โดยปกติผู้รับบุตรบุญธรรม และเด็กไม่มีโอกาสพบกันมาก่อน ย่อมไม่คุ้นเคยกัน กฎหมายจึงกำหนดมาตรการหนึ่งขึ้นมาเพื่อให้โอกาสผู้รับบุตรบุญธรรมและเด็กสร้างความคุ้นเคยกันเสียก่อนที่จะมีการตกลงปลงใจจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม มาตรการดังกล่าวคือการกำหนดให้มีการทดลองเลี้ยงดูเด็กเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน เพื่อทดสอบว่าผู้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเลี้ยงดูเด็กหรือไม่ อย่างไรก็ดี ถ้าเป็นการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมในระหว่างเครือญาติ กฎหมายก็ยกเว้นให้ไม่ต้องทดลองเลี้ยงดูเด็กก่อน เพราะมีความเชื่อว่าบุคคลที่เป็นญาติของเด็กย่อมจะไม่คิดร้ายต่อเด็ก และรวมถึงกรณีที่ผู้รับบุตรบุญธรรมและเด็กไม่ใช่ญาติทางสายเลือด หากแต่เป็นบุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องกันโดยผลของกฎหมาย เช่น เด็กนั้นเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมเอง หรือ อาจเป็นบุตรที่ติดมาของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง กรณีเช่นนี้ย่อมวางใจได้ว่า ผู้รับบุตรบุญธรรมน่าจะต้องมีเจตนาจริงใจในการรับบุตรบุญธรรม ดังนั้นใน พ.ศ. 2533 จึงมีการแก้กฎหมายเพิ่มข้อยกเว้นไม่ต้องทดลองเลี้ยงดูเด็ก ให้ขยายไปถึงกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งจะรับบุตรบุญธรรมหรือบุตรที่ติดมาของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของตนไม่จำต้องมีการทดลองเลี้ยงดูเด็กก่อน
เงื่อนไขของสามีภริยาผู้ขอให้อุ้มบุญ
การอุ้มบุญจะใช้ในกรณีที่ภริยามีภาวะที่ทำให้ไม่สามารถตั้งท้องเองได้ อาจเป็นภาวะที่ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถฝังตัวในมดลูกได้ หรือภาวะไร้มดลูก หรือมดลูกมีความผิดปกติใดๆที่ทำให้ไม่สามารถเป็นที่อาศัยของตัวอ่อนของทารกได้ ดังนั้น ผู้ขอให้มีการอุ้มบุญจะต้องเป็นสามีและภริยาสัญชาติไทยที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยภริยาไม่อาจตั้งครรภ์ได้และยินยอมที่จะให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนตน หรือหากเป็นกรณีสามีหรือภริยาเป็นชาวต่างชาติจะต้องจดทะเบียนสมรสมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
เงื่อนไขของผู้ตั้งครรภ์แทน
การตั้งครรภ์แทนเป็นการตั้งครรภ์โดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ โดยหญิงที่ตั้งครรภ์แทนมีข้อตกลงเป็นหนังสือไว้กับสามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายก่อนตั้งครรภ์ว่าจะให้ทารกในครรภ์เป็นบุตรของสามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายคู่นั้น และหญิงที่ตั้งครรภ์แทนจะต้องมีคุณสมบัติตามที่ได้มีการกำหนดเงื่อนไขดังนี้
- หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนจะต้องเป็นญาติสืบสายโลหิตของสามีหรือภริยา แต่ต้องไม่ใช่บุพการีหรือผู้สืบสันดาน นั่นคือ ต้องไม่ใช่บิดา มารดา บุตร ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หากสามีภริยาไม่มีญาติสืบสายโลหิตสามารถให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนได้แต่ต้องทำตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด
- หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนจะต้องเป็นหญิงที่เคยมีบุตรมาก่อนแล้วเท่านั้น และต้องได้รับความยินยอมจากสามีหรือชายที่อยู่กินฉันสามีภริยาของหญิงนั้นก่อน
การดำเนินให้มีการตั้งครรภ์แทน
กรรมวิธีช่วยให้มีการตั้งครรภ์แทนโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์สามารถทำได้2วิธีคือ
- ใช้ตัวอ่อนที่เกิดจากอสุจิของสามีและไข่ของภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือ
- ใช้ตัวอ่อนที่เกิดจากอสุจิของสามีหรือไข่ของภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายนั้น แต่ห้ามใช้ไข่ของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน
ตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อเด็กที่เกิดจาการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันทางการแพทย์คลอดออกมาแล้ว ให้ถือว่าเด็กคนนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่ประสงค์จะมีบุตร แม้สามีหรือภริยาคนใดคนหนึ่งจะถึงแก่ความตายก่อนเด็กเกิดก็ตาม และห้ามสามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่ประสงค์จะมีบุตรนั้นปฏิเสธการรับเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทนเด็ดขาด
ในขณะเดียวกันผู้บริจาคอสุจิหรือไข่หรือผู้บริจาคตัวอ่อนไม่สิทธิและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัวและมรดกต่อเด็กที่เกิดมานั้น |