คดีครอบครัว
https://www.high-endrolex.com/5
 
 

FAMILY LAW SECTION

Tel : (662) 168 7001 (-3)

Within Thailand, (02) 168 7001 (-3)

Fax: (662) 168 7004

Email: info@lawfirm.in.th

More About Chaninat and Leeds

  ประเภทกฎหมาย
  แนวคำพิพากษา
  ข่าวกฎหมายใหม่
  วีดีโอ
  เกี่ยวกับเรา
  ร่วมงานกับเรา
  ติดต่อเรา
 

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

Home  /  Contact print symbol Print Page



การหย่าในประเทศไทย (Divorce)

ทนายความด้านการหย่า สำนักงานกฎหมาย ชนินาฏ แอนด์ ลีดส์ จะคอยช่วยเหลือทุกเรื่องในการขอหย่าในประเทศไทย

การพิจารณาโดยทั่วไปสำหรับการหย่าในประเทศไทย

ในขณะที่การจัดการเรื่องการสมรสในประเทศไทยนั้นเป็น กระบวนการที่ค่อนข้างตรงไปตรงมา แต่ การขอหย่าก็อาจจะมีความยุ่งยากซับซ้อนขึ้นอีกเล็กน้อย มีปัจจัยหลายประการที่จะเข้ามามีบทบาทเมื่อมีการประเมินว่าจะ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะหย่าโดยชอบด้วยกฏหมายในประเทศไทย โดยปกติแล้วอาจกล่าวได้ว่า ถ้าปัจจุบันท่านหรือคู่สมรสของท่านอาศัยอยู่ในประเทศไทย ท่านสามารถยื่นฟ้องหย่าในประเทศไทยได้ ถ้าทั้งสองฝ่ายขอหย่าร่วมกัน การดำเนินการหย่าก็ค่อนข้างเป็นเรื่องง่าย แต่ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สมัครใจ หรือไม่สามารถเข้าร่วมในการดำเนินคดีหย่าได้ กระบวนการทางกฏหมายก็อาจเกิดความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่อาจเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งโดยปกติแล้วจะมีความจำเป็นที่ต้องได้รับความช่วยเหลือบริการทางกฏหมายของ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านกฏหมายเพื่อแนะนำท่าน ในการดำเนินขั้นตอนซึ่งมีความซับซ้อนนี้ เรามีความรู้และความเข้าใจในตัวแปรหลายๆประการที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งเกิดขึ้นในการดำเนินคดีหย่าที่มีความยุ่งยากซับซ้อน และทนายความด้านการหย่าของเราจะให้บริการในลักษณะ ที่เป็นการเฉพาะบุคคล เพื่อให้ตรงตามความต้องการที่เป็น การเฉพาะของแต่ละท่าน

จะดำเนินการหย่าในประเทศไทยได้อย่างไร ถ้าทั้งคู่สมรสและตัวข้าพเจ้าเองยินยอมที่จะหย่า

ถ้าก่อนหน้านี้ท่านได้จดทะเบียนสมรสไว้ที่สำนักงานเขตในพื้นที่ (เขตหรืออำเภอ) ท่านอาจจะดำเนินการ จดทะเบียนหย่า ได้ ในประเทศไทย การดำเนินการหย่าที่สำนักงานเขตในพื้นที่นั้นกำหนดไว้ว่าท่านและคู่สมรสของท่านจะต้องไม่มีข้อโต้แย้งเรื่องการปกครองบุตรหรือทรัพย์สิน ( “ การหย่าที่ไม่มีการโต้แย้ง ” ) ถ้ามีสินทรัพย์ที่จะต้องแบ่งกันหรือในเรื่องที่เกี่ยวกับการปกครองบุตร ขอ แนะนำให้มีนักกฏหมายไปร่วมในการดำเนินการหย่าในลักษณะนี้ด้วย โดยปกติแล้วการเขียนสัญญาการหย่าไว้ล่วงหน้าจะเป็นการดี เมื่อจดทะเบียนหย่า เจ้าพนักงานจะถามคำถามท่านเกี่ยวกับแผนการในอนาคตของท่าน สถานการณ์ด้านการเงินและบุตร (ถ้ามี) และจะให้ท่านกรอกแบบฟอร์มที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขในการหย่าและเรื่องอื่น ๆ โดยในการหย่านั้นจะต้องมีพยานรับรองจำนวนสองคน

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่ามีการโต้แย้งการหย่า คู่กรณีจะต้องดำเนินการผ่านระบบศาล โดยในการยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อขอหย่านั้น โจทก์หรือจำเลย (หรือทั้งสองคน) จะต้อง เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย

จะเป็นอย่างไรถ้าคู่สมรสของข้าพเจ้าไม่ยอมหย่า

ถ้าภรรยาหรือสามีไม่ยินยอมหย่า ท่านจะต้องยื่นมูลฟ้องต่อศาล ในการดำเนินการหย่าในกรณีนี้ ตามระเบียบการดำเนินการหย่าแล้ว ท่านจะต้องอ้างมูลเหตุในการหย่าและท่านจะต้องมาแสดงตัวต่อศาลด้วยตนเอง โดยทั่วไปแล้วมูลเหตุในการหย่าในประเทศไทยมีดังนี้

* แยกกันอยู่เป็นระยะเวลา 3 ปี

* คู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทอดทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งนานกว่าหนึ่งปี

* สามีมีหรือภริยาอุปการะเลี้งยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี

* สามีเป็นชู้หรือภริยามีชู้

* คู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง กระทำความผิด (ไม่ว่าจะเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาหรือไม่)

* คู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถูกจำคุกเป็นเวลาเกินหนึ่งปี

* คู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทำร้ายร่างกายหรือจิตใจอีกฝ่ายหนึ่ง

* ไม่เลี้ยงดู อุปการะ คู่สมรส ตามสมควร

* คู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีความวิกลจริตที่ไม่อาจรักษาได้เป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี

* คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีความประพฤติที่ไม่ดี

* คู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นโรคติดต่อที่ไม่สามารถรักษาได้

* คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสภาพแห่งกายทำให้ไม่อาจร่วมประเวณีได้ฉันท์สามีภรรยา

จะเป็นอย่างไรถ้าคู่สมรสของข้าพเจ้าหรือข้าพเจ้าอยู่ในต่างประเทศ

ถ้าไม่มีการโต้แย้งการหย่า ทั้งสองฝ่ายจะต้องมาที่ที่ทำการอำเภอเพื่อจดทะเบียนหย่าถ้าท่านสมรสและคู่สมรสของท่านไม่เห็นชอบกับการหย่าในประเทศไทย ท่านจะต้องขอคำตัดสินจากศาล ถ้าท่านอยู่ในต่างประเทศ ทนายความสามารถยื่นฟ้องหย่าแทนท่านได้ อย่างไรก็ตาม ท่านจะต้องมาด้วยตนเองเมื่อศาลพิจารณาการฟ้องหย่า ถ้าคู่สมรสของท่านไม่มาแสดงตัวหรือไม่กลับมายังประเทศไทยเพื่อโต้แย้งการหย่า ท่านยังสามารถดำเนินการได้ โดยที่มีเงื่อนไขว่าคู่สมรสของท่านต้องได้รับแจ้งถึงการดำเนินการหย่าอย่างเพียงพอเหมาะสมแล้ว จะต้องยื่นขอหมายจากศาลไทย ถ้าคู่สมรสของท่านไม่ได้อยู่ในประเทศไทย และอาจอนุญาตให้ดำเนินการอย่างอื่น (อย่างเช่น โดยการลงประกาศ) ในบางสภาพการณ์ ถ้าคู่สมรสของท่านไม่ตอบหมายศาลจะมีการดำเนินคดีหย่าโดยถือเป็นการผิดนัด

จะมีการแบ่งทรัพย์สินและหนี้สินค้างชำระกันอย่างไรในกรณีที่มีการหย่า

ประเทศไทยมี อำนาจตัดสินคดี ที่เกี่ยวข้องกับ “ สินสมรส ” เมื่อคู่สมรสจะหย่ากันในประเทศไทย ทรัพย์สินส่วนบุคคล (สินส่วนตัว) ซึ่งได้แก่สินทรัพย์และทรัพย์สินที่ถือครองมาก่อนการสมรส โดยปกติแล้วจะยังคงเป็นทรัพย์สินของผู้เป็นเจ้าของ สินทรัพย์และทรัพย์สินที่ถือครองในระหว่างการสมรสนั้นโดยทั่วไปแล้วจะถือเป็นสินสมรสโดยที่คู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีกรรมสิทธิ์ กฎซึ่งเกี่ยวกับการแบ่งทรัพย์สินนั้นมีความซับซ้อนและศาลไทยจะเป็นผู้แบ่งทรัพย์สินตามกฏหมายตามข้อเท็จจริงแต่ละประการในคดีหนี้สินที่เกิดขึ้นระหว่างการสมรส ไม่ว่าที่เกี่ยวกับครอบครัว การรักษาพยาบาลหรือการศึกษานั้นโดยทั่วไปจะอยู่ในความรับผิดชอบของทั้งสองฝ่าย

ถ้าข้าพเจ้ามีสัญญาก่อนการสมรสแล้วจะเป็นอย่างไร

ในประเทศไทยนั้นอนุญาตให้มีการทำสัญญาก่อนการสมรสได้โดยที่มีเงื่อนไขว่าจะต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดวิธีปฏิบัติในกฏหมายไทย สัญญาก่อนการสมรสที่จัดทำขึ้นอย่างถูกต้องนั้นโดยปกติแล้วจะถือเป็นสัญญาที่มีผลใช้ได้ตามกฏหมายในเขตอำนาจศาล ในการที่จะให้สัญญาก่อนการสมรสมี ผลตามกฏหมายในเรื่องที่เกี่ยวกับ การสมรสที่จดทะเบียนในประเทศไทยนั้นจะต้องให้ทั้ง สองฝ่ายลงชื่อในสัญญา ตลอดจนมีพยานสองคนด้วย และจะต้องยื่นต่อสำนักงานเขตในพื้นที่ไว้เป็นการล่วงหน้า