|
|
การได้รับบาดเจ็บของบุคคลในประเทศไทย
|
1) ข้าพเจ้าได้รับบาดเจ็บในประเทศไทย ข้าพเจ้าจะได้รับการชดเชยจากการได้รับบาดเจ็บได้อย่างไร
กรณีการได้รับบาดเจ็บของบุคคลที่ผู้เคราะห์ร้ายขอรับค่าชดเชยสำหรับค่าเสียหายที่ประสบนั้นอาจมีการยื่นเรื่องต่อศาลในประเทศไทย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือด้านกฏหมายทางวิชาชีพเพื่อประเมินคดีและยื่นฟ้องร้องต่อระบบศาล
2) การเรียกร้องเกี่ยวกับการได้รับบาดเจ็บของข้าพเจ้านั้นเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา
โดยปกติแล้ว คดีที่มีการเรียกค่าเสียหายสำหรับการบาดเจ็บหรือการผิดสัญญานั้นเป็นคดีแพ่ง อย่างไรก็ตาม การฟ้องร้อง บุคคลทั่วไป นิติบุคคล หรือหน่วยงานราชการนั้นอาจเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาหรือทั้งสองอย่าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพการณ์
3) กฏหมายกำหนดระยะเวลาการบังคับทางกฏหมาย (อายุความหรือข้อกำหนดเรื่องเวลา) ในคดีการได้รับบาดเจ็บของบุคคลคืออะไร
กฏหมายกำหนดระยะเวลาการบังคับตามกฏหมาย (อายุความ) สำหรับการเรียกร้องในเรื่องการได้รับบาดเจ็บของบุคคลจำนวนมาก คือ เวลาหนึ่งปี อย่างไรก็ตาม อายุความจะแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่าง ๆ หลายประการ สิ่งสำคัญ คือ ต้องติดต่อทนายความผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมโดยเร็วที่สุดเพื่อรับประกันว่าท่านจะยื่นคำเรียกร้องก่อนที่จะหมดอายุความ
4) ข้าพเจ้าจำเป็นต้องไปที่ประเทศไทยเพื่อยื่นคำเรียกร้องเรื่องการได้รับบาดเจ็บของบุคคลในศาลของไทยหรือไม่
ในการยื่นคำเรียกร้องนั้นท่านไม่จำเป็นต้องเดินทางมาก็ได้เนื่องจาก โดยปกติแล้วท่านสามารถลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจเพื่อให้ผู้รับมอบอำนาจยื่นเรื่องในนามของท่านได้ อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วโจทก์ (ฝ่ายที่ได้รับบาดเจ็บ) จะต้องมาแสดงตัวในศาลในประเทศไทยอย่างน้อยหนึ่งครั้งเพื่อให้การ
5) โดยทั่วไปแล้วศาลในประเทศไทยจะตัดสินการชดเชยแบบใด
ศาลในประเทศไทยจะตัดสินให้มีการชดเชยค่าเสียหายที่มีรูปร่างและที่ไม่มีรูปร่าง การชดเชยค่าเสียหายนั้นปกติแล้วจะตัดสินให้เป็นจำนวนเงินที่ศาลเห็นว่าเท่ากับค่าเสียหายจริง ตลอดจนปัจจัยที่ไม่มีรูปร่างบางประการ อย่างเช่น ความเจ็บปวดและการทนทุกข์หรือการเสียโฉม ในเขตอำนาจกฏหมายจารีตประเพณีหลายแห่งนั้น การชดเชย ค่าเสียหายที่ไม่มีรูปร่างต่าง ๆ เช่น ความทุกทรมานและความโศกเศร้านั้นสามารถไปถึงระดับที่มหาศาลมากบ่อยครั้ง ในประเทศไทย คำตัดสินสำหรับค่าเสียหายที่ไม่มีรูปร่าง สำหรับกรณีการได้รับบาดเจ็บของบุคคลนั้นอาจมากกว่าที่มีการจำกัดไว้
6) ข้าพเจ้าควรติดต่อทนายความเมื่อใด
โดยปกติแล้ว สิ่งสำคัญคือจะต้องติดต่อทนายความโดยเร็วที่สุด จะต้องมีการเก็บรวบรวมหลักฐานในทันที รวมถึงหลักฐานทางกายภาพ และคำให้การของพยาน ซึ่งอาจเสื่อม นอกจากนี้ จะต้องยื่นคดีภายในกฏหมายกำหนดระยะเวลาการบังคับตามกฏหมายเมื่อเวลาผ่านไป |
|
|
|
|
Copyright © 2001-2022 Chaninat & Leeds สำนักกฎหมาย ชนินาฏ แอนด์ ลีดส์
เลขที่ 10/154 อาครเทรนดี้ ออฟฟิศ ชั้น 18 ถนนสุขุมวิท ซอย 13 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ โทร : +662 168 7001 - 3 แฟกซ์: +662 168 7004
(Disclaimer: The information provided on this site is for informational purposes only. No warranty is expressed or implied. Before taking any legal action,
persons are advised to seek the advice of a lawyer qualified in the area of law concerned.)