|
|
กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส
 |
ในประเทศไทยเมื่อกล่าวถึงทรัพย์สินระหว่างสามี ภรรยา มักเป็นการกล่าวในบริบทของ “สินสมรส” โดยทั่วไปทรัพย์สินทั้งหลายที่ได้มาในระหว่างการสมรส ไม่ว่าจะได้มาจากทางสามีหรือภรรยาจะถูกถือว่าเป็นกรรมสิทธิร่วมของทั้งสามีและภรรยา แต่ก็จะมีข้อยกเว้นตามกฎหมายไว้ในกรณีต่างๆด้วย ตัวอย่างเช่น ทรัพย์สินที่มีการตกลงไว้ตามสัญญาก่อนสมรสไว้ให้เป็นอย่างอื่น, ทรัพย์สินที่ได้มาทางมรดก, และทรัพย์สินประเภทอื่นๆที่ระบุไว้ในกฎหมาย
กรณีที่มีการหย่า สินสมรสจะถูกแบ่งส่วนเท่าๆกันระหว่างสามีและภรรยา ทรัพย์สินร่วมระหว่างสามี ภรรยานั้น เป็นได้ทั้ง อสังหาริมทรัพย์, เงินฝากในธนาคาร, เงินสด, หลักทรัพย์, รายได้ หรือเงินเดือน, หุ้น, รวมทั้งทรัพย์สินอื่นๆและหนี้สินอีกด้วย
แม้ว่าสินสมรสจะถูกแบ่งเป็นส่วนเท่าๆกัน ทรัพย์สินที่ถูกระบุให้เป็น “สินส่วนตัว” จะถูกพิจารณาให้เป็นทรัพย์สินของแต่ละฝ่ายโดยเฉพาะ โดยทรัพย์สินที่จะได้รับการพิจารณาให้เป็นสินส่วนตัวได้ต่อเมื่อ เป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาก่อนทำการสมรส หรือเป็นกรณีที่คู่สมรสฝ่ายที่เป็นเจ้าของทรัพย์สงวนไว้เป็นสินส่วนตัว ซึ่งปรกติจะตกลงกันไว้ในสัญญาก่อนสมรส ในส่วนของทรัพย์สินที่ได้มาจากการให้โดยเสน่หา จากการรับมรดก หรือทรัพย์สินประเภทอื่นๆที่มีผู้ให้ ประเภทของความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิของผู้รับมักจะถูกกำหนดด้วยเจตนาของผู้ให้มาตั้งแต่ต้น
คู่สมรสที่ทำการหย่าในประเทศไทยจะต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์พื้นฐานต่างๆเหล่านี้ด้วย กรณีที่ทำการหย่าในประเทศไทยแต่การสมรสทำขึ้นในต่างประเทศ หรือกรณีที่ทรัพย์สินของคู่สมรสตั้งอยู่ที่ต่างประเทศ กฎหมายเรื่องการหย่าของไทยอาจไม่มีผลบังคับไปถึง หากเป็นเช่นนั้นแล้ว คดีดังกล่าวย่อมเกี่ยวเนื่องกับกฎหมายระหว่างประเทศ หรือกฎหมายต่างประเทศซึ่งต้องการทนายความมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ |
|
|
|
|

Copyright © 2001-2022 Chaninat & Leeds สำนักกฎหมาย ชนินาฏ แอนด์ ลีดส์
เลขที่ 10/154 อาครเทรนดี้ ออฟฟิศ ชั้น 18 ถนนสุขุมวิท ซอย 13 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ โทร : +662 168 7001 - 3 แฟกซ์: +662 168 7004
(Disclaimer: The information provided on this site is for informational purposes only. No warranty is expressed or implied. Before taking any legal action,
persons are advised to seek the advice of a lawyer qualified in the area of law concerned.)