|
|
คดีล้มละลาย (Bankruptcy)
 |
Q: การที่เจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย มีผลดีต่อลูกหนี้อย่างไร และดีกว่าการฟ้องคดีแพ่งอย่างไร?
A: ข้อแตกต่างระหว่างการฟ้องคดีล้มละลายและคดีแพ่ง สามารถเปรียบเทียบได้ดังนี้
1. การฟ้องคดีล้มละลายสามารถฟ้องได้ทั้งหนี้ที่ถึงกำหนดชำระแล้วและหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระแต่ทราบจำนวนที่แน่นอน ส่วนการฟ้องคดีแพ่งจะต้องเป็นหนี้ที่กำหนดได้แน่นอนและถึงกำหนดชำระแล้วเท่านั้น
2. ในคดีล้มละลาย เจ้าหนี้ทุกคนมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ โดยเจ้าหนี้มีประกันไม่สามารถฟ้องบังคับเอาแก่ทรัพย์อันเป็นหลักประกันในหนี้ของตนได้ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเจ้าหนี้มีประกันได้ยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายแล้ว เจ้าหนี้มีประกันย่อมมีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นประกันดีกว่าเจ้าหนี้รายอื่น ส่วนการฟ้องคดีแพ่ง เจ้าหนี้มีประกันย่อมมีสิทธิเหนือทรัพย์อันเป็นประกัน ในการที่จะร้องขอต่อศาลเพื่อยึดนำมาชำระหนี้หรือหลุดมาเป็นขอตนได้ โดยที่เจ้าหนี้รายอื่นไม่มีสิทธิบังคับในหลักประกันดังกล่าวแต่อย่างใด
3. ในคดีล้มละลาย เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้จะถูกจำกัดสิทธิในการจัดการทรัพย์สินทันทีโดยอัตโนมัติ จึงไม่สามารถทำนิติกรรมจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกบังคับชำระหนี้ได้ ส่วนการฟ้องคดีแพ่ง ลูกหนี้ยังสามารถทำนิติกรรมจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของตนได้ เจ้าหนี้จึงต้องขอคุ้มครองชั่วคราวเพื่อป้องกันมิให้ลูกหนี้จำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินได้
Q: เมื่อลูกหนี้ถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายแล้ว และเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เรียบร้อยแล้วแต่ไม่เต็มตามจำนวนหนี้ เจ้าหนี้สามารถบังคับบังคับชำระหนี้จากลูกหนี้เพิ่มเติมได้อีกหรือไม่?
A: เมื่อศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งหมดและทำการจัดสรรชำระหนี้ให้เจ้าหนี้แต่ละราย เจ้าหนี้ดังกล่าวไม่สามารถบังคับชำระหนี้จากลูกหนี้ได้อีก
เอกสารที่เกี่ยวข้อง : คดีฟื้นฟูกิจการ, คดีล้มละลาย |
|
|
|
|

Copyright © 2001-2022 Chaninat & Leeds สำนักกฎหมาย ชนินาฏ แอนด์ ลีดส์
เลขที่ 10/154 อาครเทรนดี้ ออฟฟิศ ชั้น 18 ถนนสุขุมวิท ซอย 13 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ โทร : +662 168 7001 - 3 แฟกซ์: +662 168 7004
(Disclaimer: The information provided on this site is for informational purposes only. No warranty is expressed or implied. Before taking any legal action,
persons are advised to seek the advice of a lawyer qualified in the area of law concerned.)