คดีครอบครัว
https://www.high-endrolex.com/6
 
 

LITIGATION LAW SECTION

Tel : (662) 168 7001 (-3)

Within Thailand, (02) 168 7001 (-3)

Fax: (662) 168 7004

Email: info@lawfirm.in.th

More About Chaninat and Leeds

  ประเภทกฎหมาย
  แนวคำพิพากษา
  ข่าวกฎหมายใหม่
  วีดีโอ
  เกี่ยวกับเรา
  ร่วมงานกับเรา
  ติดต่อเรา
 

 

 
Home  /  Contact print symbol Print Page



ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

การมีไว้ในครอบครอง เสพ และจำหน่ายสารเสพติดที่กฎหมายกำหนดห้ามไว้ เป็นความผิดตามกฎหมายไทย โดยความผิดดังกล่าวถือเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาและจะเป็นคดีให้ศาลอาญาพิจารณาต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม นักโทษคดียาเสพติดอาจได้รับการพิจารณาให้รับการรักษาในสถานบำบัดแทนการติดคุกก็ได้

สารเสพติดให้โทษที่ทำให้เกิดความผิดตามที่กฎหมายไทย มีการกำหนดไว้ 5 ประเภทด้วยกัน ดังต่อไปนี้

ประเภทที่ 1 – เฮโรอีน, แอมเฟตามีน, เมทแอมเฟตามีน (หรือยาบ้า, ยาไอซ์)
ผู้ที่กระทำความผิดโดยการครอบครองเพื่อเสพ หรือเสพสารเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 นี้มีโทษตามกฎหมายคือ โทษจำคุกอย่างสูง 10 ปีและโทษปรับสูงสุด 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
และในกรณีที่มีการครอบครองสารเสพติดให้โทษในประเภทนี้เกินกว่า 20 กรัมกฎหมายให้ถือว่าเป็นการครอบครองไว้เพื่อจำหน่าย ซึ่งโทษขั้นสูงสุดคือ ประหารชีวิต

ประเภทที่ 2 – มอร์ฟีน, โคเคน, เคตามีน, โคดีน, ฝิ่น, สารสกัดจากฝิ่น, เมทธาโดน
การครอบครองสารเสพติดในประเภทที่ 2 นี้อาจทำได้โดยถูกกฎหมายหากเป็นการครอบครองเพื่อวัตถุประสงค์และในจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ถ้าเป็นการครอบครองที่ขัดต่อข้อกำหนดของกฎหมายแล้วนั้นย่อมเป็นความผิด และมีโทษคือ โทษจำคุกขั้นสูง 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประเภทที่ 3 – วัตถุที่ทำให้เกิดความมึนเมา สารที่สกัดได้จากฝิ่น และสารที่มีส่วนประกอบของสารเสพติดในประเภทที่ 2 ที่ใช้ในทางการแพทย์ อาจมีไว้ในครอบครองได้ตามกฎหมาย ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายเช่นกัน

ประเภทที่ 4 - สารที่ใช้ประกอบเป็นสารเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2
ผู้ที่มีไว้ในครอบครอง มีความผิด โทษจำคุก 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประเภทที่ 5 – วัตถุที่ทำให้เกิดความมึนเมา สารเสพติดอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ใน 4 ประเภทก่อน ประกอบด้วย กัญชา และเห็ดเมา
ผู้ครอบครอง หรือเสพสารเสพติดในประเภทนี้ มีความผิดและมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในประเทศไทยพระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ เป็นกฎหมายหลักสองฉบับที่กำหนดลักษณะการกระทำที่เป็นความผิดและโทษจากกการทำความผิดเกี่ยวกับสารเสพติด รวมทั้งกำหนดตัวเจ้าหน้าที่ที่จะรับผิดชอบไว้โดยเฉพาะ แต่ไม่ใช่ว่าจะมีเพียงกฎหมายสองฉบับนี้เท่านั้นในประเทศไทยยังมีกฎหมายอื่นๆที่กำหนดโทษเรื่องยาเสพติดไว้อีกด้วย